วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเขียนภาษาไพธอนพื้นฐาน ทดสอบคำสั่ง print และ len และ split

วันนีั้ขอแนะนำการเขียนภาษาไพธอนสำหรับผู้เริ่มต้น พอเป็นสังเขปครับ

เมื่อเราเข้า python shell จะพบเครื่องหมาย >>> ซึ่งหมายถึง shell ของ python สำหรับรับคำสั่งไปประมวลผล



ในวันนี้ท่านจะได้เรียนคำสั่ง print สำหรับแสดงข้อมูลออกมา ส่วนคำสั่ง len สำหรับแสดงความยาวของตัวอักษร(สตริง) และคำสั่ง split สำหรับแยกสตริงออกจากกัน หรือตัดสตริง

การยกเลิก ATIME และ DIRATIME ในระบบลินุกซ์

ในการเข้าถึงไฟล์ทุกครั้งในระบบยูนิกส์และลินุกซ์ จะมีการเขียนเวลาขณะที่กำลังอ่านไฟล์และเขียนไฟล์เหล่านั้นเสมอ แม้เพียงอ่านไฟล์เท่านั้น ระบบปฏิบัติการจะทำการเขียนเวลาการเข้าถึงด้วย การทำอย่างนี้ หากให้บริการด้วย web server หากมีคนอ่านไฟล์บ่อย ๆ จะมีการเขียน Access Time ลงในไฟล์เท่ากับจำนวนที่อ่าน ทุก ๆ ไฟล์ รวมถึงไฟล์รูปภาพครับ



คำสั่ง ls -lu เป็นการตรวจสอบ Access Time ของไฟล์ เช่น

#ls -lu
total
-rw-r--r-- 1 root root 6 Mar 18 16:01 t1

การตรวจ ATIME และ DIRATIME ด้วยคำสั่ง mount ดังนี้

#mount
/dev/simfs on / type reiserfs (rw,usrquota,grpquota)
/proc on /proc type proc (rw)
/none on /dev type tmpfs (rw)
none on /dev/pts type devpts (rw,noatime,nodiratime)
none on /proc/sys/fs/binfmt_misc type binfmt misc (rw)

ท่านสามารถแก้ไข noatime และ nodiratime ตามวิดีโอที่นำเสนอนี้
โปรดระวัง คำสั่งนี้อาจะเป็นอันตรายกับระบบของท่าน ควรมีความรู้พื้นฐานเพียงพอในการดำเนินการ

การติดตั้งคอมไพลเลอร์ภาษา C/C++ บน CentOS

การติดตั้งคอมไพลเลอร์ภาษา C/C++ บน CentOS



กระทำได้ 3 วิธี
1. GUI ออกคำสั่ง system-config-package &
2. Install rpm จาก CDROM/DVD ออกคำสั่ง rpm -ivh gcc*
3. Download และติดตั้งผ่านอินเตอร์เน็ต yum install gcc gcc-c++ autoconf automake

สร้าง c01.c
main(){
printf("Hello World");
}

คอมไพล์ใช้คำสั่ง cc c01.c
เอ็กซีคิวส์ ./a.out

การตั้งค่า ssh timeout บน CentOS

ปกติถ้าเชื่อมต่อกับแม่ข่ายด้วย SSH จะมีการปิด session ในเวลา 1 นาทีหากไม่มีการพิมพ์คำสั่งลงไปยัง Shell Prompt

สำหรับวันนี้แนะนำเทคนิคการเพิ่ม SSH Timeout โดยมีขั้นตอนดังนี้



1. แก้ไขไฟล์ /etc/ssh/sshd_config

#nano /etc/ssh/sshd_config
จากนั้นให้เอาคอมเมนต์อออกและเปลี่ยนเป็นค่าดังนี้ #ClientAliveInterval 0 ให้เป็น ClientAliveInterval 60
บันทึกไฟล์

2. แก้ไขไฟล์ /etc/ssh/ssh_config

#nano /etc/ssh/ssh_config
เพิ่มคำสั่ง ServerAliveInterval 60 ที่บรรทัดท้ายสุด จากนั้นบันทึกไฟล์

3. รีสตาร์ท ด้วย คำสั่ง
#service sshd restart

ปล. หากไม่มีคำสั่ง nano ซึ่งเป็นโปรแกรม Text Editor ให้ติดตั้งก่อนครับ